ประวัติโรงเรียน
กุมภาพันธ์ 25, 2025 2025-04-24 7:19ประวัติโรงเรียน

พ.ศ. 2464
พระยาอมาตยพงศ์ ขุนสว้สดิรักษา (คุณพ่อขาว สีตบุตร ) ได้ก่อตั้งโรงเรียนสีตบุตรขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมอบหมายให้ธิดา คนเล็กนางสาวรัตนา สีตบุตร เป็นเจ้าของและผู้จัดการ
** ชื่อนักเรียนคนแรกปรากฎในประวัติทะเบียนนักเรียนคือเด็กชาย สิริลักษณ์ จันทรางสุ (ดร.สิริลักษณ์ จันทรางสุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม)
พ.ศ. 2464
จากการที่โรงเรียนได้ปรับปรุงพัฒนาเป็นลำดับเรื่อยมาจึงได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนของรัฐบาล และเป็นปีที่มีนักเรียนถึง 2,000 คน มีห้องเรียน 44 ห้อง
พ.ศ. 2487
ซึ่งอยู่ในห่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารเรียนทุกหลังของ
โรงเรียนถูกระเบิดเพลิงไหม้เสียหาย จำต้องปิดกิจการลง ต่อมาในปี
พ.ศ. 2491 นายชิน นุตโยธิน ได้รับโอนกิจการโรงเรียน จึงย้ายจากที่เดิม
ไปสร้างอาคารเรียนใหม่ อยู่อีกฟากหนึ่งของถนนรองเมืองซอย 5 ด้านหน้าติดถนนจรัสเมือง ซึ่งเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

พ.ศ. 2500
นางอนงค์ นครวิชัยกุล รับโอนกิจการ ได้สร้างอาคารเรียนใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตามลำดับดังนี้
อาคาร 1 สร้างในปี
อาคาร 2 สร้างในปี
อาคาร 3 สร้างในปี
อาคาร 4 สร้างในปี

พ.ศ. 2536
นายปรีชา พิสิษฐเกษม ประธานดำเนินการมูลนิธิไทย-จีน เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมรับโอนกิจการ
โรงเรียนสีตบุตรเข้ามูลนิธิ จากนั้นมูลนิธิได้เชิญบุคลากรมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือทั้งด้านการศึกษาและสังคม มาบริหารงานโรงเรียน เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.สิงห์โต จ่างตระกูลอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และนางสาวประคอง ถนัดงาน อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เป็นต้น โรงเรียนสีตบุตรบำรุงเป็นโรงเรียนสามัญศึกษาระดับปฐมวัย ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
หมายเหตุ : เมื่อโรงเรียนสีตบุตรได้เช้ามาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมูลนิธิไทย-จีน เพื่อการศึกษา และวัฒนธรรม
มูลนิธิได้มีโครงการส่งเสริมการสอนภาษาจีนกลางซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรับรอง ทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
มูลนิธิจึงแยกการเรียนการสอนของโรงเรียนออกเป็น 2 ส่วนคือ
จากอดีตของโรงเรียนสีตบุตรบำรุง ที่เดินทางมาอย่างยาวนานเกือบศตวรรษตราบถึงทุกวันนี้ทั้งหมด
ด้วยความมานะ ขยัน ตั้งใจ บากบั่น อดทน ของทุกคนที่เกี่ยวข้องทุกยุคทุกสมัยร่วมกันสรรสร้างชื่อเสียงมาโดยตลอด
พ.ศ. 2540
นายนำชัย นำชัยศิริ ประธานมูลนิธิ และในปี พ.ศ.2543 โรงเรียนสีตบุตรบำรุง ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ขยายเพิ่มชั้นเรียนจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปถึง มัธยมศึกษาปีที่ 4-5-6 ทั้งได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธกับกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2557
เรืออากาศโทมงคล พิสิษฐเกษม ประธานมูลนิธิตระหนักในวิริยะอุตสาหะในอดีตของผู้บริหารและบุคลากร ทำให้มีศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงคุณประโยชน์ให้โรงเรียนและสังคม หลายสาขา เช่น ศาสตราจารย์มารุต บุญนาค, สืบ บุณยรัตพันธ์, พล.อ.อ.ประหยัด ดิษยะศริน, โชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ์, พล.อ.อ.วิโรจน์ วงศ์วิเศษ, สมบัติ เมทินี, พล ตัณฐสเถียร, สมพล ปิยพงศ์สิริ
ภาพอดีตที่น่ายกย่อง ทำให้เรืออากาศมงคล พิสิษฐเกษม อดีตประธานสมาคมไทย - จีน เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม ให้ความสนใจต่อแผนงานขยายตึกโรงเรียน เพื่อเตรียมการขยายตัวของชั้นเรียนทั้งใส่ใจส่งเสริมกับบุคลากรเฉพาะด้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีการจัดการทำการประเมินแบบสากล การเชิญวิทยากรทางภาษาการสอน การทบทวนผลการจัด เสวนาคิดริเริ่มจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆที่ีจะแลกเปลี่ยนภาควิชาความรู้สมัยใหม่ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเรียนการสอนอันเป็นประโยชน์ทุกภาคส่วน ให้ได้บรรลุปรัชญาของโรงเรียน สีตบุตรบำรุง คือ "เน้นคุณธรรม นำวินัย ใฝ่ในความรู้"
พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
นางอรวรรณ พิสิษฐเกษม ประธานมูลนิธิไทย-จีน เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมคนปัจจุบัน มุ่งพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาในการส่งเสริมอุปกรณ์สื่อมัลติมีเดียอันทันสมัย ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อยกระดับคุณภาพระบบการบริหาร การจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้นและเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มี คุณภาพ ในราคาที่จับต้องได้กับทำเลที่ตั้งของโรงเรียนที่อยู่ใจกลางมหานคร

